Pain Point: คืออะไร รู้ก่อนสาย รู้ก่อนพัง

Pain Point

เชื่อว่าหลายคนที่อยู่ในวงการ การตลาด (Marketing) หรือวงการ การตลาดดิจิทัล หรือ Digital Marketing ที่เป็นทั้งมันสมองของทีม ในการคิดค้น กลยุทธ์ทางการตลาด จะต้องเคยได้ยินคำว่า Pain Point บ่อยๆ อย่างแน่นอน เพราะมันเปรียบเสมือน จุดที่ทำให้นักการตลาดสามารถค้นหา มองหา และวางแผน เพื่อให้เจอปัญหาของลูกค้า และแก้ไขสิ่งเหล่านั้นให้ตรงจุด บางที เราอาจจะเคยเห็น ลูกค้าที่บ่นถึงการใช้สินค้า หรือผลิตภัณฑ์บางอย่างแล้วมันดูยุ่งยาก การแก้ปัญหาด้วยการหา Pain Point นี่แหละ จะเป็นส่วนช่วยให้การส่งเสริมแบรนด์ทางการตลาด และ การตลาดออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Pain Point: คืออะไร?

Pain Point ถ้าแปลกันตรงตัวจริงๆ ก็จะหมายความว่า จุดที่สร้างความเจ็บปวด และในหลักการทางการตลาด มีการนำคำนี้มาใช้ เพราะมันคือความเจ็บปวดของลูกค้า ที่กำลังพบปัญหา การใช้สินค้า บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือ พฤติกรรมผู้บริโภค ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่มันควรสะดวกสบายมากกว่านี้ และในโลกของธุรกิจ มันรวมถึงการค้นพบจุดอ่อนทางธุรกิจ ซึ่งเป็นปัญหาขององค์กร ที่จะต้องเร่งแก้ไข ให้สามารถตอบโจทย์ลูกค้า ด้วยประสบการณ์ที่ดีได้

ปัญหาและจุดอ่อนทางธุรกิจส่วนใหญ่ ส่งผลให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ จึงเป็นที่มาของการค้นหา Pain Point ที่จะสามารถแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดลูกค้าได้ เมื่อเข้าใจปัญหาของลูกค้า ก็จะสามารถนำมาวางแผนให้เกิดไอเดีย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และนำเสนอให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า

เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการ จะต้องคำนึงถึง Pain Point ลูกค้าเป็นหลัก และต้องมองปัญหาที่จะแก้ไขให้กับลูกค้าได้ ตั้งแต่ต้นทางการผลิตสินค้า และพัฒนาจนกระทั่งสินค้าไร้จุดอ่อน มีจุดแข็งที่คู่แข่งยากจะลอกเลียนแบบ

Pain Point: สิ่งที่ต้องหาให้เจอก่อนสาย

นักการตลาด มีหน้าที่ที่จะต้องหา Pain Point ให้เจอ ว่าลูกค้ากำลังมีปัญหาเรื่องอะไร และต้องแก้ไขอย่างไร โดยการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา Pain Point ให้กับลูกค้า การหา Pain Point ทำได้ง่ายๆ ซึ่งไอเดียการแก้ไขปัญหา จะเกิดจากตัวลูกค้าที่เป็นผู้ใช้เอง นักการตลาด จะต้องทำการลงสำรวจ เก็บรีเสิร์ช ที่เป็นประโยชน์ ด้วยประเด็นคำถามต่างๆ ที่จะนำไปสู่การค้นพบ Pain Point ของลูกค้า 2 เครื่องมือในการหา Pain Point คือต้องใช้ SWOT Analysis ในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดบกพร่อง โอกาส และอุปสรรค อย่างที่ 2 คือใช้ Ansoff Matrix การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ และตลาด ซึ่งจะทำให้เข้าใจถึงปัญหาของสินค้า และมุ่งพัฒนาสินค้าเพื่อขายลูกค้า หรือพัฒนาการตลาดให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น

Pain Point: หาเจอแล้วจะได้อะไร

ทำให้เกิดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

แน่นอนว่า เมื่อหา Pain Point ได้ตรงจุด ซึ่งลูกค้าอาจจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับสินค้าแบรนด์เก่า และไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้แบรนด์นั้นดูมีปัญหา จนลูกค้าไม่อยากใช้ เมื่อมาเจอแบรนด์ที่สามารถแก้ไข Pain Point ของลูกค้าได้ ก็ทำให้ลูกค้าไว้วางใจ และทำให้ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ทันที

ลูกค้ามีโอกาสกลับมาซื้อซ้ำ

กรณีที่แบรนด์เดิม เป็นเจ้าเดียวในตลาด แต่สามารถหา Pain Point สำเร็จ จนแก้ไขปัญหาได้ โอกาสที่ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ แทบจะเป็น 100% เลยทีเดียว เพราะลูกค้าไม่มีตัวเลือกแล้ว

ได้เปรียบทางการแข่งขัน

ธุรกิจที่สามารถหา Pain Point ได้ ก็มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันกับคู่แข่ง ยิ่งคู่แข่งน้อย ลูกค้าก็ยิ่งอยากซื้อโดยความเต็มใจ และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้

Pain Point

 

Pain Point: ตัวอย่าง

ทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าคอนโดส่วนใหญ่ มักไม่ให้เลี้ยงสัตว์เลี้ยง เพราะสัตว์เลี้ยงแม้จะน่ารักสำหรับแค่ไหน แต่ไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน อาจจะสร้างความรำคาญ สร้างความไม่สบายใจให้แก่ลูกบ้านท่านอื่น ทำให้ลูกค้าพบปัญหา เลยเกิดเหตุการณ์เช่น ลูกบ้านบางคนต้องแอบเลี้ยง เลี้ยงแบบหลบๆ ซ่อนๆ  พอโดนจับได้ก็เป็นเรื่องเป็นราว ต้องพาน้องหมา น้องแมวย้ายออกไปอีก ถ้าหากคอนโด หรือ ที่พักอาศัยนั้น สามารถเจอปัญหา และเล็งถึงปัญหานี้ ทำให้เสนอแผนทำโครงการคอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ ไม่ต้องแอบ มีพื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ ทำให้กลุ่มลูกค้าที่มีสัตว์เลี้ยง หันมาซื้อ และเป็นที่รู้จัก จนโครงการขายหมดในระยะเวลารวดเร็ว

เราอาจจะสามารถสรุปได้อย่างรวดเร็วว่า การหา Pain Point เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างมาก เป็น 1 ใน หลักการตลาด ที่หลายธุรกิจทำไปใช้ ไม่ว่าจะทำธุรกิจไหนก็ตาม จะเริ่มที่สตาร์ทอัพ ธุรกิจขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ การรู้ปัญหา เข้าใจลูกค้า และเร่งแก้ไขจนทำให้ลูกค้าพึงพอใจ จะช่วยให้ธุรกิจนั้นเติบโตเป็นแบรนด์หลักของตลาดที่ลูกค้าไว้วางใจใช้บริการอย่างต่อเนื่อง

 

สนใจระบบ ALL-IN-ONE CRM Platforms ติดต่อเราได้ที่

📌 Website : www.funcrowd.co.th

📌Line OA: @funcrowdth

📌Instagram : https://www.instagram.com/fundcrowdth/ 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า