แนะนำการใช้งาน

หลักการตลาด

หลักการตลาด พื้นฐานที่เจ้าของธุรกิจต่างยึดถือและเอามาใช้กับกิจการของตัวเองมาตลอด คงหนีไม่พ้น หลักการตลาด 4P’s สุดคลาสสิคของศาสตราจารย์ชื่อดัง Edmund Jerome McCarthy ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดชาวอเมริกัน ได้ให้คำอธิบายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางไว้ว่า เครื่องมือทางการตลาดที่ใช้ในการทำ แผนธุรกิจ คือ 4P’s หรือ Marketing Mix เรียกเป็นภาษาไทยว่า ส่วนผสมทางการตลาด ซึ่งประกอบด้วย Product, Price, Place และ Promotion แต่หลักการตลาด 4Pที่ว่านี้ใช้มาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 1940  จึงเป็นไปได้ที่ในยุคปัจจุบันจะมีหลักการตลาดแบบใหม่ที่น่าสนใจ และสามารถประยุกต์ปรับใช้ได้เหมาะกับทุก ประเภทของธุรกิจ ในยุคสมัยใหม่มากขึ้น นั่นก็คือ หลักการตลาด 4E’s  วันนี้เรามาทำความรู้จัก 4E’s กันว่า ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

หลักการตลาด 4P

หลักการตลาด “Experience”

ในยุคสมัยนี้เวลา พฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงไป มีการจับจ่ายซื้อของน้อยลอง และไม่ได้คาดหวังแค่ซื้อสินค้าหรือบริการเท่านั้น  ผู้บริโภคที่เป็น กลุ่มเป้าหมาย เฉพาะต้องการมากกว่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ทำไมบางคนถึงยอมจ่ายเงินซื้อรถซุปเปอร์คาร์ราคาหลายสิบล้าน หรือทำไมเลือกโดยสารเครื่องบินระดับเฟิร์สคลาสที่ต้องจ่ายแพงกว่าหลายเท่าตัว หรือทำไมเลือกทานอาหารที่ร้านอาหารระดับมิชิลินสตาร์ที่ต้องรอคิวนานเป็นเดือน นั่นก็เป็นเพราะผู้บริโภคต้องการประสบการณ์การใช้สินค้าและบริการที่ดีกว่า ได้รับความสะดวกสบายมากกว่าและสามารถสร้างความสุขความพึงพอใจได้มากกว่า ซึ่งประสบการณ์ที่ว่านี้มาจากการนำเสนอภาพลักษณ์ของแบรนด์และการสร้างความรู้สึกเชิงบวกเกี่ยวข้องกับบริษัท ดังนั้นการเอาชนะคู่แข่งทางการตลาดในยุคนี้ต้องเน้นในเรื่องของ “การสร้างประสบการณ์ที่ดี” เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทำให้ผู้บริโภคเกิดทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์  มีความชื่นชอบต่อแบรนด์ แบบจะไม่เปลี่ยนใจจากเราไปไหน

แผนการตลาด

หลักการตลาด “Exchange”

ในช่วงก่อนหน้านี้ กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าและบริการมักจะถูกคำนวณมาจากต้นทุนการผลิตเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเจ้าของ ธุรกิจที่น่าสนใจ ต่าง ๆ จึงมุ่งเน้นที่การลดราคาต้นทุนให้ถูกลง เพื่อการแข่งขันในตลาดกับคู่แข่งทางธุรกิจได้ ให้สินค้าของตนเองสามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่า แต่ในยุคสมัยปัจจุบันนั้น เมื่อรูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องราคาของสินค้าและบริการมากนัก แต่ผู้บริโภคกลับหันมาให้ความสนใจในเรื่องของ “ความคุ้มค่า” มากกว่าราคาถูกเป็นหลัก เปรียบเหมือนกับการแลกเปลี่ยนความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้บริโภค ซึ่งไม่ว่าสินค้าและบริการจะมีราคามากน้อยเพียงใด หากว่าผู้บริโภคพิจารณาแล้วว่ามีความคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป คุ้มค่ากับความพึงพอใจที่ได้รับ ก็ย่อมอยากจะซื้อสินค้าและบริการนั่นเอง

หลักการตลาด “Everywhere”

ในการทำตลาดแบบดั้งเดิม เจ้าของธุรกิจ ผู้ประกอบการ จะต้องมีช่องทางขายสินค้าและบริการเป็นหน้าร้านและจะต้องเลือกทำเลที่ตั้งของร้านค้าของเราให้ดีและโดดเด่น สังเกตเห็นได้ง่าย เหมาะสมสำหรับการขายสินค้าและบริการ  แต่พอมาในยุคปัจจุบัน ช่องทางการขายแบบมีหน้าร้านอาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป เนื่องด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้เชื่อมต่อผู้ขายสินค้าและผู้ซื้อสินค้าเข้าด้วยกัน ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลกเพียงแค่มีระบบอินเทอร์เน็ต ดังนั้นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรให้ความสำคัญมากที่สุดในการทำการตลาดออนไลน์ จึงเปลี่ยนจากการมีหน้าร้านไปเป็นการมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง การมีระบบอีคอมเมิร์ชแพลตฟอร์ม หรือ โมบายแอปพลิเคชั่น รวมไปถึงหลักการตลาดที่เน้นการสร้าง Customer Journey และ Experience บนออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ

ช้อปปิ้งออนไลน์

หลักการตลาด “Evangelism”

กระบวนการทางด้านการสื่อสารทางการตลาด หรือ การส่งเสริมการตลาดโดยวิธีการออกแคมเปญลดแลกแจกแถม ตามหลักการตลาดแบบดั้งเดิมอาจไม่ได้รับความนิยมมากนักในยุคปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้บริโภคจะมีความพึงพอใจหรือความหลงรักในแบรนด์ที่บริโภคเป็นประจำอยู่แล้ว หรือที่เรียกว่า เป็นแฟนคลับของแบรนด์ หรือ “Evangelism” ซึ่งก็หมายถึง “Brand Loyalty” หรือความภักดีต่อแบรนด์นั่นเอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการที่มีลูกค้าที่มี Brand Loyalty มักจะมีการใช้ระบบ loyalty program และจะมีการเลือกใช้กลยุทธ์ การสื่อสาร การตลาดแบบเดิม ๆ อาจจะไม่ได้ทำให้ชนะคู่แข่งหรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากนัก ดังนั้นเจ้าของธุรกิจควรปรับวิธีคิดใหม่เพื่อให้สามารถเปลี่ยนลูกค้าขาจรให้กลายเป็นลูกค้าขาประจำของเรา เพื่อให้ธุรกิจเติบโตแบบยั่งยืนได้ 

อ่านเพิ่มเติม : ขั้นตอนการวางแผนการตลาดออนไลน์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า