awareness

Awareness มีความหมายที่ตรงตัวว่า การตระหนักรู้ หรือการสร้างการรับรู้ ซึ่งในทางธุรกิจแล้วนั้น Awareness เป็นอีกหนึ่งในโมเดลทางการตลาด ที่ช่วยทำให้ธุรกิจหรือแบรนด์นั้น ๆ เป็นที่รู้จักต่อกลุ่มเป้าหมาย จนทำให้เกิดความสนใจต่อสินค้าหรือ การบริการ และกระตุ้นการขายมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขั้นตอนนี้ อ่านแล้วดูเหมือนง่าย ที่อาจจะใช้เงินเพื่อจ้างโฆษณา เพื่อทำให้เกิดการมองเห็นมากขึ้น แต่ว่าในความเป็นจริงนั้นทุกอย่างไม่ได้ง่ายเช่นนั้น ต้องไม่ลืมว่ายังมีอีกหลายสินค้า หลายคู่แข่งที่ขายสินค้าในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน หรือสินค้า และบริการที่คล้ายคลึงกัน และเมื่อทุก ๆ แบรนด์ก็มีการทำการตลาด และมีการซื้อโฆษณาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงไปยังกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายจะได้รับข้อความทางการตลาดจากหลาย ๆ แบรนด์เยอะมาก ๆ ในหนึ่งวัน แต่จะทำอย่างไรให้เราเป็นแบรนด์ที่เขาสนใจ เป็นแบรนด์ที่เขาเลือก ดังนั้นการรับรู้ในที่นี้ไม่ใช่แค่ทำให้เห็นเท่านั้น แต่ต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้และจำได้ นั่นคือสิ่งสำคัญและหัวใจหลักในการสร้างการรับรู้ หรือ Awareness นั่นเอง

Awareness คือ

Awareness หรือ การรับรู้ คือ หนึ่งขั้นตอนในการทำการตลาด และเป็นหนึ่งในขั้นตอนของโมเดล Sales Funnel โดยจุดประสงค์ในการสร้างการรับรู้นั้น คือการทำให้แบรนด์หรือธุรกิจเป็นที่รู้จักมากขึ้น รวมไปถึงกระตุ้นการตัดสินใจในการซื้อสินค้า หรือบริการนั้น ๆ จะเป็นการสร้างการรับรู้ให้ได้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ แค่ลูกค้าเห็นและรู้จักสินค้าและบริการของเรา ก็นับว่าได้ Awareness จากเขาแล้ว โดยวิธีการสร้าง Awareness นั้นมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การทำโฆษณาโทรทัศน์ แผ่นป้ายโฆษณาบิลบอร์ด หรือวิธียอดนิยมในปัจจุบันอย่างการทำโฆษณาบนช่องทางโซเชียลมีเดีย เป็นขั้นตอนแรกที่เราจะดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามารู้จักสินค้าเรามากขึ้น โดยขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องพยายามทำการขาย หรือบังคับให้ลูกค้าซื้อ แต่สร้างการรับรู้ให้ลูกค้ารู้ว่า มีแบรนด์เราอยู่ จดจำแบรนด์ของเราได้ว่าเรามีสินค้าหรือบริการนี้อยู่ในตลาด แล้วเราค่อยดึงดูดเข้าให้มากขึ้นในขั้นตอนต่อไป

การทำ Awareness มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร

การสร้าง Awareness ที่ดี และมีคุณค่ามากพอ จะทำให้ลูกค้าได้รับรู้ และรู้จักแบรนด์มากขึ้นด้วยความรู้สึกที่พึงพอใจ โดยจะทำให้ง่ายต่อการทำขั้นตอนต่อไป ในการนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจให้กับลูกค้า ด้วยการส่ง Email SMS หรือช่องทางอื่น ๆ โดยหากลูกค้ามีการตอบกลับ ก็ต้องกระตุ้นด้วยการนำเสนอโปรโมชั่นต่าง ๆ จนทำให้ลูกค้าสนใจซื้อในที่สุด โดยการทำ Awareness ที่ดี มีความสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจหรือแบรนด์ได้รับประโยชน์ และเป็นที่รู้จักมากขึ้นดังต่อไปนี้

  1. ช่วยสร้างโอกาสดึงดูดลูกค้าใหม่ให้เข้ามารู้จักสินค้า ผ่าน Awareness ที่ลงในช่องทางต่าง ๆ
  2. ช่วยคัดกรองลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจจริง ๆ เช่นหากทำแบรนด์สกินแคร์ ก็อาจการสร้างการรับรู้ ผ่านการให้ความรู้เรื่องผิว สิว หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะเพิ่มโอกาสให้คนที่สนใจในเรื่องเหล่านี้ผ่านมาเห็น และรู้จักแบรนด์
  3. ช่วยให้แบรนด์หรือธุรกิจ เข้าหาลูกค้าได้อย่างถูกวิธี เข้าใจและให้ความรู้ต่อสิ่งที่ลูกค้าสนใจ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เป็นที่รู้จักแล้ว ยังสร้างความรู้สึกดี ๆ และเพิ่มโอกาสในการที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อแบรนด์เราอีกด้วย ช่วยเพิ่มยอดขายจากลูกค้าเก่าที่สนใจสินค้าสูง โดยการลูกค้ารู้สึกประทับใจ และรู้สึกว่า Awareness ของแบรนด์มีคุณค่ามากกว่าจุดประสงค์ในการขายสินค้า ก็จะช่วยให้เกิดการติดตาม บอกต่อ ซื้อซ้ำ รวมไปถึงเกิดการแชร์ Awareness ซึ่งนั่นจะช่วยขยายโอกาสให้กับแรนด์เป็นอย่างมาก

ทฤษฎีการสื่อสารผ่าน Awareness

ในโลกของการตลาดยุคใหม่มีทฤษฎีหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Five levels of customer awareness ที่จะใช้ใน การสื่อสาร ไปยังลูกค้า โดยในทฤษฎีจะมีทั้งหมด 5 ระดับที่เราต้องคำนึงถึง เพราะการรับรู้ในโลกยุคปัจจุบันจะไม่ได้มีแค่เพียง บิลบอร์ด โฆษณาทีวี อีกต่อไปยังมีผ่านทางออนไลน์ การจัดอีเว้นท์ เราจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า จะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้จักกับแบรนด์ของเราได้ โดยFive levels of customer awreness มีทฤษฎีดังต่อไปนี้

Unaware ไม่รู้อะไรเลย

Unaware คือ ลูกค้าไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องอะไร หรือยังไม่ทราบว่าตอนนี้มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยทำให้พวกเขาใช้ชีวิตได้สะดวกสบายมากขึ้น โดยส่วนมากลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มคนที่มีจำนวนเยอะที่สุด และยังไม่ใช่คนที่สนใจในแบรนด์หรือธุรกิจของเรา

โดยวิธีจะเข้าถึงลูกค้าในกลุ่มนี้ เราจำเป็นจะต้องป้อนข้อมูลบางอย่างไปให้พวกเขา เช่น การทำคอนเทนต์เพื่อให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจเป็นภาพรวมกว้าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้พวกเขารู้สึกอะไรบางอย่าง เพราะโดยปกติแล้ว กลุ่มเป้าหมาย อาจจะไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านั้น แต่ในขณะที่พวกเขาเลื่อนหน้าไทม์ไลน์ของ Facebook แล้วเจอบทความของเรา กดเข้ามาอ่าน ก็ทำให้เริ่มตระหนักได้ว่าพวกเขากำลังมีปัญหานั้น และถึงแม้ว่าตอนนี้เขาอาจจะยังไม่ต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา แต่ข้อมูลส่วนนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้พวกเขาเริ่มรู้จักมากขึ้น อย่างน้อยถ้าเกิดว่าในอนาคตเขาต้องการผลิตภัณฑ์/บริการขึ้นมา ชื่อของธุรกิจของเราก็จะเป็นหนึ่งในนั้นด้วยนั่นเอง

Problem Aware เริ่มรู้ตัว

Problem Aware คือ ลูกค้าเริ่มรู้ตัวแล้วว่าตัวเองกำลังประสบปัญหานั้นอยู่ รู้ว่าปัญหานั้นคืออะไร แต่ก็ยังไม่รู้ว่ามีวิธีใดบ้างที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ และที่สำคัญ เขาจะอาจยังไม่รู้จักแบรนด์หรือธุรกิจของเราเลย แต่หลังจากที่อ่านบทความในขั้น Unaware พวกเขาอาจจะเห็นและเริ่มตระหนักแล้วว่า มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นกับตัวเองอยู่ เขาอาจก็จะเริ่มค่อย ๆ เจาะลึกไปที่ปัญหานั้น เช่น หลังจากที่นาย A อ่านคอนเทนต์จากขั้น Unware แล้วก็เริ่มตระหนักแล้วว่ามีปัญหาสิวอุดตัน เพราะล้างหน้าไม่ค่อยสะอาด และรู้สึกว่าผิวไม่เรียบเนียนเวลาลูบหรือจับ เป็นต้น

Solution Aware รู้ปัญหา

Solution Aware คือ ลูกค้ารู้แล้วว่าตัวเองจะแก้ปัญหานั้นด้วยวิธีใดหรือผลิตภัณฑ์ใด แต่ก็ยังไม่ได้เจาะจงลงไปว่าจะใช้ของอันไหน แต่หากเราไม่เป็นที่รู้จัก ก็อาจพลาดโอกาสในการขายต่อกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ไป ดังนั้น คอนเทนต์ที่ทำ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้พวกเขา เห็น หรือรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นบทความ วิดีโอ ที่คุณนำไปแปะไว้ เช่น การยิง Ads การแปะลิงก์บทความที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คอนเทนต์ที่ทำจะต้องให้คำตอบกับพวกเขาได้เป็นอย่างดี เพราะคอนเทนต์จะมีคุณค่าหรือไม่มีนั้น ไม่ใช่แค่การเขียนที่ดีอย่างเดียว แต่ต้องเป็นคอนเทนต์ที่สามารถตอบคำถามให้กับคนอ่านได้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถมอบประโยชน์ให้กับพวกเขาได้

Product Aware รู้ว่าอะไรที่ตอบโจทย์

Product Aware คือ ลูกค้ารู้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการไหนที่ตอบโจทย์เขา แต่ยังไม่มีการซื้อเกิดขึ้น ซึ่งในขั้นนี้พวกเขาจะรู้สึกคุ้นเคยทั้งผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา และคู่แข่งอย่างชัดเจนจนเกิดการเปรียบเทียบขึ้น แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าของเจ้าไหนที่คู่ควรกับตัวเขาที่สุด ซึ่งในขั้นนี้กลุ่มเป้าหมายอาจจะไม่ได้ต้องการข้อมูลอะไรมากมาย เพราะจากขั้นก่อนหน้านี้เขาได้ซึมซับข้อมูลมามากพอแล้ว ดังนั้นก็สามารถขายของอย่างเต็มที่เลย ทำให้พวกเขารู้จัก จดจำ และมีผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไรบ้างที่จะเป็นประโยชน์กับต่อพวกเขา

Highly Aware รู้จักสินค้า

Highly Aware คือ ลูกค้ารู้จักสินค้าหรือบริการของเราเป็นอย่างดี ซึ่งคนกลุ่มนี้อาจหมายถึงกลุ่มคนที่เคยซื้อสินค้าไปแล้ว เป็นกลุ่มคนที่รู้สึกไว้ใจในผลิตภัณฑ์ และมีโอกาสสูงที่จะกลับมาซื้อสินค้าอีกครั้งหนึ่ง สำหรับขั้นนี้หากมีไม้ตายเด็ดอะไรงัดออกมาให้หมด อาจจะนำเสนอโปรโมชันสุดพิเศษให้กับเขา ซึ่งโปรโมชันจะเป็นจุดที่ได้ผลที่สุดในการเร่งให้กลุ่มคนที่เดินทางมาถึงขั้นนี้มีการตัดสินใจซื้อได้ทันที

ประโยชน์ของการสร้าง Awareness 

โดยนอกจากจะมีวัตถุประสงค์ที่ทำให้แบรนด์หรือธุรกิจเป็นที่รู้จักมากขึ้นแล้ว การสร้างความรับรู้ ยังมีประโยชน์ดังต่อไปนี้

  1. สร้าง First Impression ความประทับใจครั้งแรกที่เจอ ผ่านบทความ หรือคอนเทนต์ที่มีคุณค่า
  2. ช่วยให้คนจดจำได้ในวันที่ลืมชื่อไปแล้ว แต่จำอย่างอื่นของแบรนด์ได้
  3. คู่แข่งมาตีเสมอยาก เพราะถ้าได้จำแบบแม่นยำแล้ว ก็จะจำได้ตลอดไป
  4. หากอยากขยายแบรนด์หรือธุรกิจไปขายอย่างอื่น ก็ทำได้ง่ายเพราะคนจำแบรนด์ได้ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
  5. ลูกค้าบอกต่อลูกค้าที่ลักษณะเหมือน ๆ กับแบรนด์ ทำให้ยอดขายและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น
    หาก Awareness ดีและมีคุณค่าจนมีการบอกต่อ ก็จะทำให้ประหยัด ต้นทุน ในการโปรโมตไปได้ในตัว

สรุป Awareness 

การสร้าง Awareness หรือการรับรู้ นับเป็นสิ่งจำเป็นที่แบรนด์หรือธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญไม่ใช่แค่เพียงทำให้ผู้บริโภครับรู้เท่านั้น อาจจะรวมไปถึงการเข้าถึง พฤติกรรมผู้บริโภค และลึกไปกว่านั้นคือการทำให้แบรนด์หรือธุรกิจ อยู่ในความนึกคิดของลูกค้าให้ได้ เป็นความทรงจำในเชิงบวก ที่จะทำให้ผู้บริโภคจำ เมื่อต้องการสินค้าประเภทนี้จะต้องคำนึงถึงแบรนด์ของเรา หรือนึกถึงในระหว่างการตัดสินใจซื้อ พร้อมทั้งสร้างการจดจำ และรับรู้ในระยะยาว กลายเป็นรากฐานที่มั่นคงของแบรนด์หรือธุรกิจ การสร้างการรับรู้ จะช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า และขยายการรับรู้ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่จบสิ้น และนำมาซึ่งการเติบโตของแบรนด์หรือธุรกิจนั้น ๆ ดังนั้น สร้างการรับรู้ หรือ Awreness ของให้ได้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้การทำธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดนั่นเอง อาจจะสร้างด้วย การตลาดออนไลน์ หรือ Digital Marketing แม้แต่ การตลาดแบบออฟไลน์ก็เช่นเดียวกัน 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า