ส่วนประสมทางการตลาด

 

ส่วนประสมทางการตลาดดีต่อธุรกิจอย่างไร

หลักการตลาด ที่หลายคนรู้จักกันเป็นอย่างดี ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ องค์ประกอบสำคัญในการดำเนินการตลาด ซึ่งนักการตลาดหรือนักธุรกิจต่างๆ ต่างให้การยอมรับและใช้ในการทำการตลาดกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าส่วนประสมทางการตลาด เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ ซึ่งธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสินค้าหรือบริการ จำเป็นต้องนำแนวทางการตลาดรูปแบบนี้มาใช้ในการทำการตลาด เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้

ส่วนประสมทางการตลาด คืออะไร

ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ องค์ประกอบสำคัญในการดำเนินการตลาด ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นส่วนประสมทางการตลาดมีแค่ 4 องค์ประกอบ คือ ผลิตภัณฑ์ (Product) การจัดจำหน่าย (Place) การกำหนดราคา (Price) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เท่านั้น ทำให้มีชื่อเรียกว่า 4’Ps  แต่เนื่องจากส่วนประสมทางการตลาดแบบเดิมครอบคลุมเฉพาะธุรกิจสินค้าเท่านั้น จึงมีการเพิ่มอีก 3 องค์ประกอบเข้ามา นั่นคือ บุคคล (People) กระบวนการ (Process) และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence) เพื่อให้ส่วนประสมทางการตลาดสามารถตอบโจทย์และครอบคลุมทั้งธุรกิจสินค้าและบริการ จึงทำให้มีชื่อเรียกใหม่ว่า 7Ps

 

ส่วนประสมทางการตลาด

 

ส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วยอะไรบ้าง

ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจ มีองค์ประกอบด้วยกัน 7 องค์ประกอบดังนี้

ผลิตภัณฑ์ (Product) 

ผลิตภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สินค้าและบริการ ผู้ประกอบการ ต้องรู้ว่าจะขายอะไรและ กลุ่มเป้าหมาย คือใคร ซึ่งก่อนที่ผู้ประกอบการจะตัดสินใจทำธุรกิจใดๆ นั้นต้องศึกษา พฤติกรรมผู้บริโภค และหา Pain Point ของผู้บริโภคให้เจอ เพื่อให้สามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการได้อย่างตรงใจผู้บริโภค ยิ่งสินค้าหรือบริการของคุณสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้มากเท่าไหร่ ธุรกิจของคุณสามารถก็สามารถอยู่เหนือคู่แข่งขันรายอื่นๆ ในตลาดได้อย่างแน่นอน

ราคา (Price)

เมื่อสินค้าหรือบริการของคุณสามารถตอบโจทย์ความต้องการและมีคุณค่าในสายตาของลูกค้า ก็จะทำให้ลูกค้าเต็มใจจ่ายซื้อสินค้าหรือบริการได้อย่างไม่ลังเลแน่นอน แต่ทั้งนี้คุณก็ควรกำหนดราคาให้เหมาะกับคุณภาพของสินค้าด้วย ไม่ควรกำหนดราคาแบบเอารัดเอาเปรียบลูกค้าจนเกินไป ซึ่งการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการก็มีหลายรูปแบบด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น 

กำหนดราคาจากต้นทุน 

เป็นการกำหนดราคาพื้นฐาน โดยส่วนธุรกิจต่างๆ มักจะใช้วิธีนี้ในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นการกำหนดราคาจากการนำ ต้นทุน ที่สามารถแยกย่อยเป็น ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรที่ใช้ไปในการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ มาคำนวณแล้วบวกกำไรที่ต้องการจากการขายสินค้าหรือบริการในแต่ละชิ้น

กำหนดราคาจากการแข่งขัน

ถ้าสินค้าหรือบริการของคุณไม่แตกต่างจากของคู่แข่งมากนัก คุณก็ควรที่จะใช้กลยุทธ์ในการกำหนดราคาแบบนี้ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นได้นั่นเอง

กำหนดราคาจากลูกค้า

เป็นการกำหนดราคาแบบยึดความต้องการของตลาดเป็นเกณฑ์ โดยการกำหนดราคาแบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการรับรู้คุณค่าของสินค้าหรือบริการในสายตาของลูกค้า เช่น การกำหนดราคาเพื่อเจาะตลาด การกำหนดราคาแบบเลขคี่หรือการกำหนดราคาตามกลุ่มลูกค้า เป็นต้น

ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) 

ช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันนี้พฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปแล้ว ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค โดยต้องมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหลากหลายช่องทางทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์ หรือที่เราเรียกกันว่า Omni Channel  เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การส่งเสริมการตลาด (Promotion) 

เป็นวิธี การสื่อสาร ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค โดยมีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น เพื่อให้ลูกค้ารู้จักแบรนด์และสนใจมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายหรือเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำและอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งวิธีการส่งเสริมการตลาดก็สามารถทำได้หลากหลายวิธี 

กลยุทธ์ทางการตลาดแบบดิจิทัล (Digital Marketing)

เป็นการทำ Digital Marketing ผ่าน Social Media Platform ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, Twitter, Youtube TikTokหรือ Line OA เป็นต้น ซึ่งช่วยให้แบรนด์หรือธุรกิจเป็นที่รู้จักผ่านทางโซเชียลมีเดีย

กลยุทธ์การตลาดผ่านอีเมล (Email Marketing)

เป็นกลยุทธ์ที่ทำกับลูกค้ากลุ่มเดิมที่เคยมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการของกิจการเราแล้ว โดยการส่งโปรโมชั่นต่างๆ ให้ลูกค้าผ่านทางอีเมล เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเหล่านั้นกลับมาซื้อซ้ำหรือใช้บริการธุรกิจเราอีกครั้ง

กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM)

ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมากต่อการทำธุรกิจในยุคนี้ เพราะการทำ CRM จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเสนอโปรโมชั่นได้ตรงใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น คูปองส่วนลด ของแถมหรือการให้ของขวัญ เป็นต้น 

 

พนักงาน

 

บุคคล (People)

บุคคลในที่นี้ คือ ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการให้บริการ นั่นคือ พนักงานภายในกิจการนั่นเอง ซึ่งพนักงานเป็นส่วนหนึ่งของกิจการและเปรียบเสมือนตัวแทนของกิจการ ถ้าหากพนักงานให้บริการลูกดี ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและกลับมาใช้บริการหรือซื้อซ้ำอีกครั้งได้ ซึ่งในทางตรงกันข้ามถ้าหากพนักงานบริการแย่ ก็จะทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจได้หรือเลวร้ายกว่านั้น คือ อาจจะเกิดการบอกต่อจนทำให้กิจการเสียชื่อเสียงได้ ฉะนั้นทางกิจการต้องมีการสร้างจิตสำนึกใน การบริการ ให้กับพนักงาน โดยการจัดการอบรม การฝึกสอนหรือการติดตามและประเมินผลงาน เป็นต้น 

กระบวนการ (Process) 

เป็นวิธีการหรือขั้นตอนในการให้บริการหรือนำเสนอสินค้าให้แก่ลูกค้า เพื่อมอบการให้บริการอย่างถูกต้องรวดเร็วและทําให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจ อย่างเช่น เว็บไซต์ของธุรกิจ ต้องออกแบบให้หน้าเว็บไซต์สวยงาม ใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน เพราะลูกค้าทุกคนไม่ชอบความยุ่งยาก ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณใช้งานยุ่งยากและซับซ้อนจนเกินไปก็อาจจะทำให้ลูกค้าตัดใจไม่ใช้บริการหรือถอดใจไม่ซื้อสินค้าเลยก็เป็นได้

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence)

เป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการต้องพบเจอ ในกรณีนี้เราจะยกตัวอย่าง ร้านขายของชำ ถ้าหากรูปแบบร้านไม่ได้ออกแบบมาให้สวยงาม อีกทั้งการจัดร้านก็ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีฝุ่นละอองจับตามชั้นวางของ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่างๆ เหล่านี้ที่ลูกค้าต้องเจอ จะทำให้ลูกค้าเกิดความไม่ประทับใจและอาจจะไม่เข้ามาใช้บริการร้านขายของชำอีกเลยก็เป็นได้ ซึ่งในส่วนของ Digital Marketing การสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ที่แบรนด์ต้องทำ คือ สร้างเว็บไซต์ให้สวยงาม ง่ายต่อการใช้งานและตรงกับความต้องการของลูกค้า เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้านั่นเอง

ส่วนประสมทางการตลาดดีต่อธุรกิจอย่างไร

  • ช่วยให้ลูกค้ารู้จักและจดจำแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น
  • ช่วยให้ธุรกิจสามารถรู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
  • ทำให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด
  • สามารถวางแผนทำกลยุทธ์การตลาดได้ดีและมีประสิทธิภาพ
  • ทำให้ธุรกิจสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์
  • ช่วยให้ธุรกิจสร้างยอดขายและกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทำให้ธุรกิจรู้จักและเข้าใจสินค้าหรือบริการของตนเองมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้ธุรกิจสื่อสารแบรนด์ไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างแคมเปญทางการตลาดได้ดีขึ้น 

สรุป ส่วนประสมทางการตลาด

ส่วนประสมทางการตลาด คือ องค์ประกอบสำคัญในการดำเนินการตลาด ซึ่งในอดีตนั้นจะมีเพียง 4 องค์ประกอบเท่านั้นหรือที่เราเรียกกันว่า  4’Ps แต่เนื่องด้วยส่วนประสมทางการตลาดแบบเดิมนั้น ครอบคลุมเพียงธุรกิจที่เป็นสินค้าเท่านั้น จึงมีการเพิ่มอีก 3 องค์ประกอบเข้ามา เพื่อให้สามารถครอบคลุมทั้งธุรกิจสินค้าและบริการ ทำให้มีชื่อเรียกใหม่ว่า 7’Ps นั่นเอง ซึ่งส่วนผสมทางการตลาดเรียกได้ว่าเป็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า